วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผลการวิเคราะห์จากชิ้นงาน สิ่งที่สะท้อนว่าพี่ๆ มัธยมได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (ครั้งที่ 4)

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่อุ้มจุ้ย (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
แก่นเรื่อง
- ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโปรตีน / ระบบย่อยอาหาร / การเผาพลาญพลังงานโปรตีน
- ผ่าตัดปลา ศึกษาเกี่ยวกับสารอาหารโปรตีนในเนื้อปลา / ศึกษาระบบโครงสร้างของปลา

image.jpegทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของเด็กหญิงฐิติพร  สงครามรอด(พี่อุ้มจุ้ย) เลขที่ 1
- การเก็บรวบรวมข้อมูล : ข้อมูลที่คุณครูโจทย์ไปหาเกี่ยวกับอาหารที่มีสารโปรตีน / ระบบย่อยอาหาร / การเผาพลาญพลังงานโปรตีน พี่อุ้มจุ้ยได้เขียนเก็บรวบรวมข้อมูลลงในสมุด เพื่อรวบรวมข้อมูลของความรู้ทางวิทยาศาสตร์สารโปรตีน ขมวดตามความเข้าใจของพี่อุ้มจุ้ย ระบบย่อยอาหารของคนกับปลา
- การนำเสนอข้อมูล : ระหว่างที่ครูเล่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมให้พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ขณะที่ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดให้เด็กช่วยอธิบาย พี่อุ้มจุ้ยได้นำเสนอข้อมูลให้ครูและเพื่อนๆ รับฟังข้อมูลพร้อมๆ กันไปด้วย ระหว่างการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรตีน
- การวางแผนการทำงาน: พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ได้โจทย์จากครูว่า นักเรียนแบบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แล้วให้แบบ่งหน้าที่เตรียมปลา(ที่ตายแล้ว) นำมาผ่าตัดศึกษาสารประเภทโปรตีนและอวัยวะของปลา พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนได้วางแผนการการทำงานจะผ่าตัดปลาต้องทำอย่างไรใครเตรียมปลา / เตรียมมีด / ที่รองผ่าตัดจะเก็บที่ใดเมื่อมาถึงโรงเรียนฯ ตอนเช้า ฯลฯ
- การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล / การแก้ปัญหา : พี่อุ้มจุ้ยกับเพื่อนๆ ในกลุ่มทำการทดลองผ่าตัดปลาศึกษาว่าเนื้อปลาส่วนไหนมีโปรตีนมากที่สุด และศึกษาโครงสร้างของปลาที่ใช้ผ่าตัดพร้อมกับวิเคราะห์สิ่งที่เห็นระหว่างทำการทดลอง บันทึกผลความคืบหน้า
 * พี่อุ้มจุ้ยได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าวเนื่องจากสัปดาห์นี้ฝนตกติดต่อกันทุกวัน ทำให้ท่อมีน้ำขังในท่อที่พี่อุ้มจุ้ยใช้ปลูกข้าว จากข้อมูลที่เคยหามาพบว่าข้าวที่แตกกอแล้ว เหมาะกับสภาพที่ท่อมีน้ำขังอยู่
- การทำงานร่วมกัน: พี่อุ้มจุ้ยและเพื่อนๆ ในกลุ่มทดลองผ่าตัดปลา การแบ่งหน้าที่ / การแสดงความคิดเห็นระหว่างทำการทดลอง / การบันทึกผลเพื่อสังเกตผลจากการทดลอง

คุณลักษณะ : พี่อุ้มจุ้ยมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลต้นข้าว ใส่ปุ๋ย ดูแลระดับของน้ำ ดูการปรุงดินเป็นระยะตามเวลาที่เหมาะสม และเก็บทำความสะอาดบริเวณทำการทดลอง ล้างอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และนำไปเก็บไว้ตู้เก็บอุปกรณ์อย่างเรียบร้อย


สิ่งที่สะท้อนว่า พี่หญิง (ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
แก่นเรื่อง : การทดลองสารอาหารโปรตีน / วางแผนการทดลองและติดตามผล

image.jpeg

ทักษะการสื่อสาร : มีการนำเสนอข้อมูลจากการทดสอบโปรตีน อธิบายขั้นตอน อุปกรณ์ รวมทั้งสารที่ใช้ในการทดสอบพร้อมทั้งสรุปผลการทดลองแล้วนำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง
ทักษะการทำงานร่วมกัน : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้จักแบ่งหน้าที่ การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทดสอบโปรตีน ในไข่ไก่ แหนแดง เนื้อหมู เผือก
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล / แก้ปัญหา : ทดสอบโปรตีนในแหนแดง เนื้อ เผือก และไข่ไก่ มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบโปรตีนในไข่ไก่คีตกาลกับไข่ไก่ ซีพี สังเกตการเปลี่ยนแปลงหลังจากหยดสารทดสอบ คอปเปอร์ซัลเฟต บันทึกผลการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงแหนแดง ซึ่งพบว่ามีบ่อแหนแดงหนึ่งบ่อที่มีแหนปากเป็ดเป็นจำนวนมากทำให้แหนแดงเจริญเติบโตและขยายช้า จึงล้างบ่อและปล่อยแหนแดงใหม่
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ธาตุ สาร และสารประกอบร่วมทั้งเขียโครงสร้างของธาตุ สารประกอบต่างๆ
ทักษะชีวิต : เฝ้าดูแล เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ได้ลงมือทำจริงจนเกิดการเรียนรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนของตนเอง
การวางแผนการทำงาน: วางแผนและคาดการณ์ผลผลิตในอนาคต จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายในการเลี้ยงไก่ไข่ ปลาดุก และปลูกผัก

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ฟ้าวรรณ (ม.3) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
แก่นเรื่อง : ภูมิปัญญาการแต่งกาย

image.jpeg
ทักษะที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : พี่ฟ้า วรรณ ได้มีการสืบค้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแต่งกายของภูมิภาคที่ตนเองสนใจ และต้องการศึกษา
ทักษะการวิเคราะห์ : มีการนำข้อมูลที่ได้สืบค้น มาวิเคราะห์เพื่อนำสาระสำคัญมารวบร่วมและนำเสนอ
ทักษะการเชื่อมโยง : พี่ฟ้า วรรณ มองเห็นความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมการแต่งกายที่ได้รับมาจากต่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ
ทักษะการทำงานร่วมกัน : พี่ฟ้า วรรณ ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม พร้อมทั้งมองภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เช่น การหาข้อมูล การจัดทำชิ้นงานและการมองเห็นปัญหาโดยรวมของเพื่อนต่างกลุ่มอีกด้วย


.....ทีมมัธยมนอกกะลา....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น