วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผลการวิเคราะห์จากชิ้นงาน สิ่งที่สะท้อนว่าพี่ๆ มัธยมได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (ครั้งที่ 3)

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่เหน่ง (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL 


แก่นเรื่อง :
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโปรตีน
- หาวิธีการเก็บรักษาเนื้อครึ่งกิโลกรัม ไว้ให้ได้นานที่สุด ในระยะเวลา 1 เดือน นำเนื้อที่เก็บมาประกอบอหารร่วมกันได้

ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของเด็กชายอดิศร สีชาคำ(พี่เหน่ง) เลขที่ 15
- การเก็บรวบรวมข้อมูล : ข้อมูลที่คุณครูโจทย์ไปหาเกี่ยวกับอาหารที่มีสารโปรตีน พี่เหน่งได้เขียนเก็บรวบรวมข้อมูลลงในสมุด เพื่อรวบรวมข้อมูลของความรู้ทางวิทยาศาสตร์สารโปรตีน ขมวดตามความเข้าใจของพี่เหน่ง
- การนำเสนอข้อมูล : ระหว่างที่ครูเล่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมให้พี่เหน่งและเพื่อนๆ ขณะที่ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดให้เด็กช่วยอธิบาย พี่เหน่งได้นำเสนอข้อมูลให้ครูและเพื่อนๆ รับฟังข้อมูลพร้อมๆ กันไปด้วย ระหว่างการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรตีน
- การวางแผนการทำงาน: พี่เหน่งและเพื่อนๆ ได้โจทย์จากครูว่า “นักเรียนจะมีวิธีการเก็บเนื้อครึ่งกิโลกรัม ไว้ให้ได้นานที่สุด ในระยะเวลา 1 เดือน เพื่อนำกลับมาทำอาหารร่วมกัน ” พี่เหน่งและเพื่อนได้วางแผนการการทำงาน จพหมักเนื้ออย่างไร, ใครเป็นที่ปรึกษาการทำงาน, จะเก็บที่ใด ฯลฯ
- การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล / การแก้ปัญหา : ทดลองหมักเนื้อตามสูตรที่นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ ของพี่เหน่งใช้การเก็บรักษาเนื้อโดยทำเป็นส้มเนื้อตามสูตรที่คุณตา คุณยาย แนะนำ พี่เหน่งเลือกเนื้อวัวมาทำจะได้นำมากินพอดีเมื่อครบเวลากำหนด

* พี่เหน่งได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าวเนื่องจากสัปดาห์นี้ฝนตกติดต่อกันทุกวัน ทำให้ท่อมีน้ำขังในท่อที่พี่เหน่งใช้ปลูกข้าว จากข้อมูลที่เคยหามาพบว่าข้าวที่แตกกอแล้ว เหมาะกับสภาพที่ท่อมีน้ำขังอยู่

- การทำงานร่วมกัน: พี่เหน่งและเพื่อนทำงานการเขียนFort chart เกี่ยวกับเส้นทางข้าว 4 เมล็ด ที่แม่พี่ไอดินมาช่วยสอน
คุณลักษณะ : พี่เหน่งมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลต้นข้าว ใส่ปุ๋ย ดูแลระดับของน้ำ ดูการปรุงดินเป็นระยะตามเวลาที่เหมาะสม


สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ฟีล์ม (ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้  (PBL )


แกนเรื่อง :
การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต / โครงสร้างเซลล์พืช / ส่องกล้องจุลทรรศน์
ทักษะการสื่อสาร : มีการนำเสนอข้อมูลจากการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเซลล์ของแหนแดง
ทักษะการทำงานร่วมกัน : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทำงาน
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างเซลล์พืช ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในร่างกายของเรา
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล : มีการสังเกตโครงสร้างของแหนแดง ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเซลล์แหนแดง วิเคราะห์จากสิ่งที่ตนเองเห็นพร้อมทั้งวาดประกอบ
ทักษะ ICT : การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างเซลล์พืช ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในร่างกายของเรา
ทักษะชีวิต : เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ได้ลงมือทำจริงจนเกิดการเรียนรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนของตนเอง
ทักษะการแก้ปัญหา : มีการจัดการตนเองในการทำชิ้นงาน มองเห็นปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น พร้องทั้งหาแนวทางแก้ไข


สิ่งที่สะท้อนว่า พี่แนน ม.3) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้  (PBL )


แกนเรื่อง :
ภูมิปัญญา ด้านประเพณีและวัฒนธรรม
ทักษะการสืบค้นข้อมูล : พี่แนนได้มีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวกับการแห่ปราสาทผึ้ง โดย สามารถบอกเล่าความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีนี้ได้
ทักษะการสื่อสาร : มีการนำเสนอข้อมูลจากทำชิ้นงานในรูปแบบ Power point ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอที่ตนเองถนัด และคิดว่าสามารถทำได้ดี
ทักษะการทำงานร่วมกัน : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทำงาน
การวิเคราะห์ข้อมูล : มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น เพื่อเลือกข้อมูลที่สำคัญในการนำเสนอ
ทักษะ ICT : การใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญา ด้านประเพณีและวัฒนธรรม

.........ทีมมัธยม............



ผลการวิเคราะห์จากชิ้นงาน สิ่งที่สะท้อนว่าพี่ๆ มัธยมได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2)

สิ่งที่สะท้อนว่าพี่พิมพ์ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (PBL)



แก่นเรื่อง
 - ประโยชน์จากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- การนำสารอาหารคาร์โบไฮเดรตไปใช้ในร่างกาย
- การทดสอบสารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ทักษะที่เกิดขึ้น
การสืบค้นข้อมูล : พี่พิมพ์และเพื่อนๆ
ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
และจากที่มนุษย์สร้างขึ้น
การเก็บรวบรวมข้อมูล : ข้อมูลที่พี่พิมพ์หามาได้จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ คุณครูก็จะช่วยเสนอแนะหรือตั้งคำถามเพื่อให้พี่พิมพ์ได้ข้อมูลเพื่อจะไปหาคำตอบต่อ
การนำเสนอข้อมูล :พี่พิมพ์เล่าความคืบหน้าของข้อมูลที่หามาได้ให้เพื่อนๆ และคุณครูร่วมกันรับฟังและช่วยกันตั้งคำถาม – ตอบ
การทดลอง / การวิเคราะห์ข้อมูล /การแก้ปัญหา : พี่พิมพ์และเพื่อนๆ ทุกคน
ได้ร่วมกันทดสอบแป้งจากใบไม้ ได้ใช้หลักการของนักวิทยาศาสตร์มาร่วมกันทดลอง – การสังเกต – การตังคำถาม - การตั้งสมมติฐาน – การวิเคราะห์ข้อมูล – การสรุปผลการทดลองระหว่างที่ทำการทดลองก็ได้คิดแก้ปัญหาต่างๆ การทดลองแต่ละครั้งไปด้วยและพี่พิมพ์เขียนวิธีแก้ปัญหาจากการปลูกข้าว แล้วข้าวตายด้วยว่า
หาต้อข้าวจากเพื่อนที่เกิดมานำมาลงปลูกใหม่ และใช้วิธีการที่เหมาะสมกว่าเดิม
การทำงานร่วมกัน : พี่พิมพ์และเพื่อนทำงานการทดลองในกลุ่มผู้หญิงร่วมกัน
การวางแผนการทำงาน :ครูแนะนำกระบวนการการทดสอบแป้งในใบไม้ให้นักเรียนทุกคนกลุ่มพี่พิมพ์ก็แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานการทดลอง
การให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์ : พี่พิมพ์และเพื่อนๆหาใบไม้ที่คาดว่าจะมีแป้งมากๆ เช่นใบข้าว, ใบอ้อย ที่วิเคราะห์จากข้อมูลเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้
และสร้างสรรค์การทดสอบ บันทึกผลทุกข้นตอนอย่างละเอียด
คุณลักษณะ :พี่พิมพ์มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลอุปกรณ์การทอดลองทำความสะอาดเมื่อใช้เสร็จเรียบร้อย และเก็บไว้ในตู้วิทยาศาสตร์ตามเวลาที่กำหนดอย่างเรียบร้อย


สิ่งที่สะท้อนว่าพี่มายด์(ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (PBL)



แกนเรื่อง :  สิ่งมีชีวิตรอบตัว/ การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ทักษะการทำงานร่วมกัน  : มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือเพื่อนๆในการทำงาน เช่นบ่อแหนแดง ทำเล้าไก่ บ่อปลาดุกและแปลงเกษตรจนเสร็จ และทุกคนมีส่วนร่วม
ทักษะการวางแผนการทำงาน  : จากการที่ได้ปลูกผักบางส่วนแล้วทำให้เห็นช่องทางในการเลือกปลูกผักที่เหมาะสมกับฤดูกาลมีการวางแผนกับเพื่อนในการปลูกผักใหม่  การทำแปลงเพิ่มเนื่องจากพื้นที่ยังเหลือ วางแผนการผลิตอาหารปลาดุกเอง แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้อาหารไก่ / ปลาดุก
ทักษะการสืบค้นข้อมูล  : สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้เช่น การเลี้ยงไก่ไข่
แหนแดง  ปลาดุก ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่และปลา ต่อยอดด้วยการหาวิธีทำอาหารเลี้ยงปลาเอง
ทักษะชีวิต  : เรียนรู้การทำเกษตรพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่ไข่  ปลูกผัก เลี้ยงปลา
ได้ลงมือทำจริงจนเกิดการเรียนรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนของตนเอง  พี่มายด์
มองเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบใส่ใจกับสิ่งที่กำลังทำเช่นการดูแลแปลงผักให้อาหารไก่และปลา มีความกล้าแสดงออกเช่น การถาม - ตอบ รวมทั้งการเสนอความคิดเห็น

สิ่งที่สะท้อนว่าพี่ฟ้า วิ (ม.3) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (PBL)



แก่นเรื่อง : ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  : พี่ฟ้ามองเห็นว่าไม่เพียงแต่ต้องแต่งเพลงให้จบแล้ว
และยังคงคิดต่อไปอีกว่า น่าจะถ่ายนำบทเพลงนี้ ไปถ่ายทำ MV เพิ่มเติม
ทักษะการแก้ปัญหา : จากการสังเกตและการทำงานร่วมกันพี่ฟ้ามองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานของตัวเอง ความยากของงาน รวมถึงมองเห็นกระบวนการทำงานของเพื่อนๆกลุ่มอื่นด้วย
ทักษะการทำงานร่วมกัน : แม้ในขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ในการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบทเพลงของกลุ่มพี่ฟ้าจะเกิดปัญหาให้ได้แก้ไขกันอยู่มากมาย แต่ทุกคนสามารถปรับตัวและพยายามขึ้นจนงานสำเร็จด้วยดี
คุณลักษณะที่เกิดขึ้น :  พี่ฟ้าสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ในรูปแบบบทเพลง  มีการถ่ายทำ MV เพื่อให้ชิ้นงานมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ความรับผิดชอบต่องานที่ทำ: นำเสนอผลงานที่ได้เรียนรู้ได้ตรงตามเวลาที่กำหนด



สิ่งที่สะท้อนว่า พี่เบนซ์(ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้
(ภาษาอังกฤษ)



แกนเรื่อง: การแยก คำนาม (Noun), คำสรรพนาม (Pronoun), คำกริยา(Verb)
ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ทักษะความเชื่อมโยง : ในตัวกิจกรรมมีการแจกบทความเปิดสื่อทาง youtube เกี่ยวกับหัวข้ออาหารและมีความสรุปจากครูอีกขั้นหนึ่ง พี่เบนซ์สามารถข้อคิดที่ได้จากเรื่องออกมาได้
ทักษะการสื่อสาร: พี่เบนซ์สามารถสื่อสารสิ่งที่ได้ดูและอ่านและประมวลออกมาเป็นภาษาของตัวเอง


สิ่งที่สะท้อนว่าพี่บีม อ(ม.3) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ 
(ภาษาอังกฤษ)

แกนเรื่อง: การแยก คำนาม (Noun), คำสรรพนาม (Pronoun), คำกริยา(Verb)
ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร: พี่บีม สามารถสรุปความเนื้อหาจากใบงานจากสื่อทางyoutube และคำบอกเล่าจากครูเกี่ยวกับปรัชญาอินเดียนแดงกับธรรมชาติโดยภาพที่วาด แสดงถึงการตกตะกอนทางความคิด
คุณลักษณะ ด้านความคิดสร้างสรรค์: รูปภาพที่พี่บีมวาด
เป็นภาพเพียงหนึ่งภาพ แต่สื่อความหมายได้ชัดเจน


ในวิชาภาษาไทย ของพี่ ม.1 คุณครูได้แนบซ์ไฟล์ แนวคิด ต่อเรื่องที่พี่ๆได้อ่าน ตอนที่หนึ่ง ในวรรณกรรม เรื่อง โจนทาน ลิฟวิงตัน ในมุมมองต่างๆจากคำถาม ของคุณครูที่ว่า  "พี่ๆคิดว่า  นางนวล โจนทาน  มีพฤติกรรม แนวคิด เหมือนกับใคร ?"





.............ทีมครูมัธยม................

ผลการวิเคราะห์จากชิ้นงาน สิ่งที่สะท้อนว่าพี่ๆ มัธยมได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ (ครั้งที่ 1)

สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ชาติ (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้


แก่นเรื่อง : วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน - สารอาหาคาโบไฮเดรต - ปลูกข้าว
ทักษะ
- การทำงานร่วมกัน พี่ชาติได้ร่วมกันวางแผนการทำปฏิทินและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้กีบเพื่อนๆ ไดุ้บ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเองที่รับมอบหมาย - การสืบค้นข้อมูล ในสัปดาห์นี้เข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตามปฏิทิน เป็นเรื่องราวสารคาโบไฮเดรต พี่ชาติสืบค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารประเภทนี้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น - การจัดการข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วพี่ชาติกับเพื่อนๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันกับเพื่อนๆ เรียบเรียงข้อมูลเพื่อจะถ่ายทอดความเข้าใจ - การสังเกต / การติดตามผล พี่ชาติได้เรียนรู้เรื่องข้าวได้วย ในชั่วโมง PBL ครูจะให้ไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้าว แล้วนำมาบันทึกผลความคืบหน้ามาเล่าให้ครูฟัง - การแก้ปัญหา / ทักษะชีวิต พี่ชาติพบปัญหาจากการปลูกข้าวเมล็ดข้าวมีมากกว่า 4 เมล็ด เพราะตอนที่นำลงในท่อต้องการใส่ให้มากกว่า 4 เมล็ดเพื่อคัดสรรที่ดีที่สุดมาปลูก 4 ต้น


                                                                                                           
สิ่งที่สะท้อนว่า พี่ฟ้า ชุ(ม.2) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้



แกนเรื่อง : การเตรียมสถานที่สำหรับสร้างกระบวนการเรียนรู้

- ทักษะการวิเคราะห์ : การเจริญเติบโตของแหนแดงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจากการทดลองและสังเกตพบว่าแหนแดงเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดและร่มพอๆ กัน - ทักษะการวางแผน : การวางแผนการเลี้ยงแหนแดงจากผลที่ได้ทดลองหาพื้นที่เพาะเลี้ยงแหนแดง / เล้าไก่ / แปลงเกษตร - ทักษะชีวิต : เรียนรู้การปฏิบัติจริง เช่น การทำบ่อเลี้ยงแหน การทำเล้าไก่ การทำแปลงเกษตร



สิ่งที่สะท้อนว่า พี่โอ๊ต (ม.3) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้


แกนเรื่อง : ภูมิปัญญาอีสานในการแต่งเรื่องราวของวิถีชีวิตที่มีมุมสนุกสนาน และบ่งบอกวิธีการหาอาหารจากแหล่งอาหารของคนอีสาน

- ทักษะการวางแผนการทำงาน : พี่โอ๊ตได้มีการออกแบบวางแผนการทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มในรูปแบบ Story broad แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทต่างๆก่อนการลงมือทำงานจริง

-ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น : พี่โอ๊ตมีการทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มเพื่อถ่ายทำ นิทานก้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อที่อยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีการแบ่งหน้าที่ให้กับเพื่อนในกลุ่มจนสามารถถ่ายทำงานได้จนสำเร็จ

- ทักษะการคิดวิเคราะห์ : ในการทำงานกลุ่ม พี่โอ๊ตสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการถ่านทอด ร่วมถึงการเลือกสถานที่ถ่ายทำต่างๆได้

- ทักษะการแก้ปัญหา : พี่โอ๊ตมีกระบวนการเรียนรู้และค้นหาวิธีการตัดต่อนิทานก้อม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นคือ คลิป VDO ที่ถ่ายทำมานั้นกลับหัว ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงการหาวิธีแก้ปัญหาอยู่

- พี่โอ๊ต มองเห็นความสำคัญของความสามัคคี เพื่อการทำงานเป็นทีม






...... ทีมครูมัธยม........